วันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนครั้งที่ 3


บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤน  แจ่มถิ่น

วัน พุธ  ที่  20 เดือน  พฤศจิกายน  พ.ศ. 2556
เวลาเข้าสอน  08.30 น.  เวลาเข้าเรียน  08.20 น.   เวลาเลิกเรียน  12.20 น.




จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

- เพื่อให้เด็กมีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับตณิศาสตร์ เช่น การรู้จักคำศัพท์

- เพื่อพัฒนามโนภาพเกี่ยวกับคณิศาสตร์ เช่น การบวก ลบ

- เพื่อให้เด็กรู้จักและใช่ขบวนการหาคำตอบ

- เพื่อให้เด็กฝึกฝนคณิตศาสตร์พื้นฐาน

- เพื่อให้เด็กมีความรู้ ความเข้าใจ

- เพื่อส่งเสริมให้เด็กค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง

ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยมี 7 ข้อ ดังนี้

1. การสังเกต (Observation) 

- การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกันในการเรียนรู้

- โดยเข้าไปมีปฎิสัมพันธ์โดยตรงกับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์อย่างมีจุดหมาย

2. การจำแนก (Classifying)

- การแบ่งประเภทสิ่งของโดยหาเกณฑ์หรือสร้างเกณฑ์ในการแบ่งขึ้น

- เกณฑ์ในการจำแนกคือ ความเหมือน ความแตกต่าง และความสัมพันธ์

3. การเปรียบเทียบ (Comparing)

- เด็กต้องอาศัยความสัมพันธ์ของวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์ตั้งแต่สองสิ่งขึ้นไป

- เด็กจะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะของสิ่งนั้นๆ และรู้จักคำศัพท์คณิศาสตร์ที่ต้องใช้

4. การจัดลำดับ (Ordering)

- เป็นทักษะการเปรียบเทียบขั้นสูง

- การจัดลำดับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์

5. การวัด (Measurement)

- มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการอนุรักษ์

- การวัดสำหรับเด็กปฐมวัย ได้แก่ อุณหภูมิ เวลา ระยะทาง ความยาว น้ำหนัก ปริมาณ

6. การนับ (Conting)

- เด็กชอบการนับแบบท่องจำโดยไม่เข้าใจความหมาย

- การนับแบบท่องจำนี้จะมีความหมายต่อเมื่อเชื่อมโยงกับจุดประสงค์บางอย่าง

7. รูปทรงและขนาด (Sharp and Size)

- เด็กส่วนใหญ่จะมีความรู้เกี่ยวกับรูปทรงและขนาดก่อนจะเข้าโรงเรียน


คำศัพท์เกี่ยวกับคณิตศาสตร์

- ตัวเลข - น้อย มาก น้อยกว่า มากกว่า ไม่มี ทั้งหมด

- ขนาด - ใหญ่ คล้าย สองเท่า ใหญ่ที่สุด สูง เตี้ย

- รูปร่าง - สามเหลี่ยม วงกลม สี่เหลี่ยม ยาว โค้ง สั้นกว่า แถว

- ที่ตั้ง - บน ต่ำ ขวา สูงที่สุด ยอด ก่อน ระยะทาง ระหว่าง 

- ค่าของเงิน - สลึง ห้าสิบสตางค์ หนึ่งบาท ห้าบาท สิบบาท 

- ความเร็ว - เร็ว ช้า เดิน วิ่ง คลาน

- อุณหภูมิ - เย็น ร้อน อุ่น เดือด

หลังจากที่อาจารย์อธิบายเนื้อหาเสร็จแล้วอาจารย์ ได้มีตัวอย่างในการเอาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับ

เด็กปฐมวัยทั้ง7 ข้อ มาใช้ ในรูปข้างล่างนี้ เพื่อให้เด็กได้สังเกต และแสดงความคิดเห็นของตัวเด็กเอง







หลังจากการเรียนการสอนเนื้อหาได้ทำกิจกรรมวาดรูปสิ่งที่เราเดินผ่านก่อนถึงมหาวิทยาลัย 3 รูป



ทั้ง 3 รูปนี้ จะสามารถเรียนรู้คณิตศาสตร์ได้ทั้งหมด เช่น การนับ การสังเกต รูปทรงและขนาด การจัดลำดับ 

ทำให้เด็กคุ้นเคยกับตัวเลขมากขึ้น





บันทึกการเรียนครั้งที่ 2


บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤน  แจ่มถิ่น

วัน พุธ  ที่  13  เดือน  พฤศจิกายน  พ.ศ. 2556
เวลาเข้าสอน  08.30 น.  เวลาเข้าเรียน  08.15 น.   เวลาเลิกเรียน  12.20 น.



ความหมายของคณิตศาสตร์

- คือระบบการคิดของมนุษย์ เพื่อศึกษาและอธิบายความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ ในเชิงปริมาณโดยใช้ภาพ 

สัญลักษณ์ การพูด การเขียน และเป็นการเรียนรู้เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับจำนวน ตัวเลข และการคิดคำนวณ

ความสำคัญของคณิตศาสตร์

- เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน

- ส่งเสริมกระบวนการคิดแก้ไขปัญหาโดยเฉพาะอาศัยหลักการทางคณิตศาสตร์

- เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสำรวจข้อมูล วางแผน และประเมินผล

- เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ของวิชาต่างๆ โดยเฉพาะวิชาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี

เด็กสามารถพัฒนาการอนุรักษ์ได้โดย

- การพับ

- การจับคู่ 

- การเปรียบเทียบรูปทรง

- การเรียงลำดับ

- การจัดกลุ่ม

หลักการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

- เปิดโอกาสให้เด็กได้พูดคุย อธิบายและสำรวจความสำพันธ์ต่างๆ

- ผสมผสานคณิตศาสตร์กับการเล่น และกิจกรรมที่มีการลงมือปฎิบัติ

- ให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสต่างๆ 

- ใช้คำถามปลายเปิด

- เชื่อมโยงการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในชิวิตประจำวัน


ทฤษฎีพัฒนาการด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัยตามแนวคิดของ Piaget

1. ขั้นพัฒนาการด้านประสาทสัมผัส (Sensorimotor Stage) แรกเกิด - 2 ปี

- เด็กเรียนรู้จากประสาทสัมผัสต่าง ๆ

- สามารถจดจำสิ่งต่าง ๆ บอกคุณลักษณะของวัตถุด้วย

2. ขั้นเตรียมการความคิดที่มีเหตุผล (Peoperational Starge) 2-7 ปี

- ใช้ภาษาพูดแสดงความรู้ ความคิด

- เริ่มรู้จักคำที่บอกขนาด น้ำหนัก รูปทรงและความยาว

- เล่นบทบาทสมมติซึ่งเป็นพื้นฐานของพัฒนาความเข้าใจในสิ่งที่เป็นนามธรรมมากขึ้น เช่น จำนวน ตัวเลข ตัว

อักษร คำที่มีความหมาย

- เด็กในวัยนี้จะให้ความสำคัญกับสิ่งที่สังเกตและรับรู้ได้ชัดเจนที่สุด

- ไม่สามารถคงความคิดตามสภาพเดิมไว้ได้ เมื่อสภาพทางกายภาพเปลี่ยนแปลง ทำให้เด็กไม่สามารถสั่งสม

ความคิดไว้ได้

หลังจากที่อาจารย์ได้บรรยายเนื้อหาแล้ว อาจารย์ได้ให้ทำกิจกรรมวาดภาพสัตว์อะไรก็ได้ที่มีขา





นี่คือภาพตะขาบ

ภาพนี่ก็จะทำให้เด็กได้ใช้คณิตศาสตร์ เช่น

- การนับขาของตะขาบ

- การแยกสี

- บอกลักษณะของตัวตะขาบ


บันทึกการเรียนครั้งที่ 1


บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤน  แจ่มถิ่น

วัน พุธ  ที่  6  เดือน  พฤศจิกายน  พ.ศ. 2556
เวลาเข้าสอน  08.30 น.  เวลาเข้าเรียน  08.15 น.   เวลาเลิกเรียน  12.20 น.




 - ช่วงสัปดาห์นี้กำลังอยู่ในช่วงที่กำลังเข้าสู่การเรียน การสอน อาจารย์ได้มาอธิบายเกี่ยวกับการเรียนในเทอมนี้ว่าเรา

จะเรียนอะไรกันบ้างที่เกี่ยวข้องกับคณิศาสตร์
  
- สัปดาห์นี้อาจารย์ก็ได้มีการให้ทำ My  Map ว่าตัวของเราเองคิดว่าจะได้อะไรกับวิชาการจัดประสบการณ์ทาง

คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย






สิ่งที่คิดว่าจะได้รับจากรายวิชานี้

- สอนเกี่ยวกับการนับเลข

- การนำนิทานเข้ามาสอดแทรกทางคณิตศาสตร์

- ประโยชน์ของการใช่คณิศาสตร์ในชีวิตประจำวัน

- ทฤษฎีต่างๆ ทางด้านคณิศาสตร์

- เขียนแผนการเรียนการสอนได้

- ออกแบบกิจกรรมต่าง ๆ ได้หลากหลาย

- วิธีทำให้เด็กไม่กลัววิชาคณิตศาสตร์