บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤน แจ่มถิ่น
วัน พุธ ที่ 13 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
เวลาเข้าสอน 08.30 น. เวลาเข้าเรียน 08.15 น. เวลาเลิกเรียน 12.20 น.
ความหมายของคณิตศาสตร์
- คือระบบการคิดของมนุษย์ เพื่อศึกษาและอธิบายความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ ในเชิงปริมาณโดยใช้ภาพ
สัญลักษณ์ การพูด การเขียน และเป็นการเรียนรู้เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับจำนวน ตัวเลข และการคิดคำนวณ
ความสำคัญของคณิตศาสตร์
- เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน
- ส่งเสริมกระบวนการคิดแก้ไขปัญหาโดยเฉพาะอาศัยหลักการทางคณิตศาสตร์
- เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสำรวจข้อมูล วางแผน และประเมินผล
- เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ของวิชาต่างๆ โดยเฉพาะวิชาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี
เด็กสามารถพัฒนาการอนุรักษ์ได้โดย
- การพับ
- การจับคู่
- การเปรียบเทียบรูปทรง
- การเรียงลำดับ
- การจัดกลุ่ม
หลักการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
- เปิดโอกาสให้เด็กได้พูดคุย อธิบายและสำรวจความสำพันธ์ต่างๆ
- ผสมผสานคณิตศาสตร์กับการเล่น และกิจกรรมที่มีการลงมือปฎิบัติ
- ให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสต่างๆ
- ใช้คำถามปลายเปิด
- เชื่อมโยงการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในชิวิตประจำวัน
1. ขั้นพัฒนาการด้านประสาทสัมผัส (Sensorimotor Stage) แรกเกิด - 2 ปี
- เด็กเรียนรู้จากประสาทสัมผัสต่าง ๆ
- สามารถจดจำสิ่งต่าง ๆ บอกคุณลักษณะของวัตถุด้วย
2. ขั้นเตรียมการความคิดที่มีเหตุผล (Peoperational Starge) 2-7 ปี
- ใช้ภาษาพูดแสดงความรู้ ความคิด
- เริ่มรู้จักคำที่บอกขนาด น้ำหนัก รูปทรงและความยาว
- เล่นบทบาทสมมติซึ่งเป็นพื้นฐานของพัฒนาความเข้าใจในสิ่งที่เป็นนามธรรมมากขึ้น เช่น จำนวน ตัวเลข ตัว
อักษร คำที่มีความหมาย
- เด็กในวัยนี้จะให้ความสำคัญกับสิ่งที่สังเกตและรับรู้ได้ชัดเจนที่สุด
- ไม่สามารถคงความคิดตามสภาพเดิมไว้ได้ เมื่อสภาพทางกายภาพเปลี่ยนแปลง ทำให้เด็กไม่สามารถสั่งสม
ความคิดไว้ได้
ทฤษฎีพัฒนาการด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัยตามแนวคิดของ Piaget
1. ขั้นพัฒนาการด้านประสาทสัมผัส (Sensorimotor Stage) แรกเกิด - 2 ปี
- เด็กเรียนรู้จากประสาทสัมผัสต่าง ๆ
- สามารถจดจำสิ่งต่าง ๆ บอกคุณลักษณะของวัตถุด้วย
2. ขั้นเตรียมการความคิดที่มีเหตุผล (Peoperational Starge) 2-7 ปี
- ใช้ภาษาพูดแสดงความรู้ ความคิด
- เริ่มรู้จักคำที่บอกขนาด น้ำหนัก รูปทรงและความยาว
- เล่นบทบาทสมมติซึ่งเป็นพื้นฐานของพัฒนาความเข้าใจในสิ่งที่เป็นนามธรรมมากขึ้น เช่น จำนวน ตัวเลข ตัว
อักษร คำที่มีความหมาย
- เด็กในวัยนี้จะให้ความสำคัญกับสิ่งที่สังเกตและรับรู้ได้ชัดเจนที่สุด
- ไม่สามารถคงความคิดตามสภาพเดิมไว้ได้ เมื่อสภาพทางกายภาพเปลี่ยนแปลง ทำให้เด็กไม่สามารถสั่งสม
ความคิดไว้ได้
หลังจากที่อาจารย์ได้บรรยายเนื้อหาแล้ว อาจารย์ได้ให้ทำกิจกรรมวาดภาพสัตว์อะไรก็ได้ที่มีขา
นี่คือภาพตะขาบ
ภาพนี่ก็จะทำให้เด็กได้ใช้คณิตศาสตร์ เช่น
- การนับขาของตะขาบ
- การแยกสี
- บอกลักษณะของตัวตะขาบ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น