วันพุธที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนครั้งที่ 6




บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤน  แจ่มถิ่น

วัน พุธ  ที่  11 เดือน  ธันวาคม  พ.ศ. 2556
เวลาเข้าสอน  08.30 น.  เวลาเข้าเรียน  08.20 น.   เวลาเลิกเรียน  12.20 น.



- วันนี้งดการเรียนการสอน มีการจัดแข่งขันกีฬาคณะศึกษาศาสตร์

- การจัดกีฬาในครั้งนี้เพื่อแสดงให้เห็นความสามัคคีของคณะศึกษาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม 

ทำให้เด็กไทยเดืนห่างจากยาเสพติดอีกด้วย แถมยังฝึกให้ทุกคนรู้จักแพ้ รู้จักชนะ

วันอังคารที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนครั้งที่ 5


บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤน  แจ่มถิ่น

วัน พุธ  ที่  4 เดือน  ธันวาคม  พ.ศ. 2556
เวลาเข้าสอน  08.30 น.  เวลาเข้าเรียน  08.20 น.   เวลาเลิกเรียน  12.20 น.


- การเรียนการสอนในวันนี้ต่อเนื่องมาจาก วันที่ 27 พ.ย. 2556 คือการออกมานำเสนอในหัวข้อที่ได้รับมอบหมาย

ทั้งหมดมีอยู่ 5 กลุ่ม โดยแต่ละกลุ่มนำอุปกรณ์มานำเสนอให้เพื่อน ๆ และอาจารย์ได้ฟังได้ดูแบบเห็นภาพจริง


กลุ่มพีชคณิต


- กลุ่มนี้ได้นำเอาอุปกรณ์ เกี่ยวกับคำถาม-ตัวเลือกมานำเสนอและอธิบายให้ได้ฟังให้ได้ดูกัน เช่น 

- 1 2 3 _ 4 5 6 7  เลขใดที่หายไป


กลุ่มการวัด




- กลุ่มนี้ได้ทำอุปกรณ์การวัดขึ้นมาเองโดยวาดภาพ จะมียีราฟ หนอน ทำเป็นไม้บันทัด

- เพื่อนได้อธิบายว่าการวัดของเด็กไม่มีหน่วยเด็กจะใช้สิ่งของในการวัด เช่น การวัดส่วนสูงเด็กก็จะใช้ไม้บันทัด

วางต่อกันเรื่อยๆ 


รูปทรงเรขาคณิต





- กลุ่มนี้ได้นำอุกรณ์มาให้เพื่อน ๆได้ร่วมสนุกกัน เป็นรูปทรงสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม สี่เหลี่ยมพื้นผ้า เพื่อนได้นำ

เสนอได้หน้าสนใจมากกิจกรรมนี้จะทำให้เด็กมีความสนใจมากเกี่ยวกับรูปทรง และสีสีน การนับมุมของรูปทรง


การวิเคราะห์และความน่าจะเป็น





- กลุ่มนี้ได้นำเอาลูกปิงปองมานำเสนอให้เพื่อนๆ ดูถึงความน่าจะเป็น

- จะมีลูกปิงปอง 2 สี สีขาวกับสีส้ม

- เพื่อนที่นำเสนอได้อธิบายถึงการที่จะหยิบลูกปิงปองได้สีอะไร เช่น หยิบได้ ส้มขาว ส้มส้ม ขาวขาว


จำนวนและการดำเนินการ





- กลุ่มนี้เอาอุปกรณ์ที่จัดทำขึ้นเองมานำเสนอในการนำจำนวนของเด็ก

- กลุ่มนี้เด็กจะได้ทั้งรูปทรง การนับเลข สีสัน แต่จะเน้นการนำจำนวนให้เด็กได้รู้จำนวนในการนับ ลด เพิ่ม ของ

ตัวเลข


หลังจากการนำเสนอเสร็จอาจารย์ได้ให้ทำกิจกรรมที่สอดคล้องกับคณิตศาสตร์ โดยอาจารย์แจกกระดาษคนละ

 1 แผ่น จากนั้นอาจารย์ให้วาดวงกลมลงไป 1 วง แล้วให้เขียนเลขที่ชอบลงไปในวงกลมจากนั้นอาจารย์ได้ให้ตัด

กลีบดอกไม้เท่าเลขที่เขียนในวงวงตกแต่งให้สวยงาม จึงออกมาเป็นนิทานเรื่องนี้




นิทานเรื่องฉันโชคดีที่มีในหลวง

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้วมีป่าแห่งหนึ่งเงียบสงบและแห้งแล้งมาก ในป่าแห่งนี้มีเพียงเจ้าต้นไม้ต้นเล็ก ๆ รอคอยวัน

ที่ฝนจะตกลงมาเพื่อที่มันจะได้เจริญเติบโตขึ้นมาอย่างสวยงาม วันเวลาผ่านไปแล้ว เจ้าต้นไม้รอแล้วรออีก 

รอแล้วรออีกฝนก็ไม่ตกลงมาสักทีทำให้เจ้าต้นไม้เกิดความน้อยใจและหมดหวังที่จะเจริญเติบโตขึ้นมา ทันใดนั้น

เองได้มีนกฝูงหนึ่งบินผ่านมาบอกข่าวให้กับเจ้าต้นไม้ว่าเจ้าไม่ต้องเศร้าเสียใจไปหรอกเจ้าต้นไม้ในวันพรุ่งนี้เจ้าก็

จะได้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เจ้าต้นไม้เลยบอกฝูกนกว่าข้าจะมีความเป็นอยู่ที่ดีได้ยังไงฝนก็ไม่ตกลงมาเลยอีกไม่

ช้าข้าคงไม่มีชีวิตอยู่ ฝูงนกจึงได้บอกกับเจ้าต้นไม้ว่าในวันพรุ่งนี้จะมีการทำฝนหลวง ณ ป่าแห่งนี้ ซึ่งเป็นโครงการ

ของพระเจ้าอยู่หัวของเรา ซึ่งพระเจ้าอยู่หัวของเราได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับป่าไม่ของเรามาก พระเจ้าอยู่หัวของ

เราจึงได้จัดทำโครงการฝนหลวงนี้ขึ้นมาเพื่อรักษาป่าของเราไว้ เจ้าคงสบายใจแล้วนะเจ้าต้นไม้จากนั้นฝูงนกจึง

ลาเจ้าต้นไม้ไปเพื่อไปส่งข่าวต่อ เจ้าต้นไม้ได้ฟังฝูงนกพูดมาจึงรู้สึกมีความสุขมาก เช้าวันรุ่งขึ้นฟ้าก็มืดดำฝนได้

ตกลงมาอย่างหนักทำให้ป่าไม้ที่เคยแห้งแล้งกับอุดมสมบูรณ์ขึ้นมาทันที เจ้าต้นไม้ก็เจริญเติมโตขึ้นมาอย่าง

สวยงาม



ข้อคิด

ทรัพยากรธรรมชาติเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับเราจึงอยากให้ทุกคนช่วยกันรักษาป่าไม้ของเราให้ดีที่สุด
















วันอังคารที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนครั้งที่ 4

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤน  แจ่มถิ่น

วัน พุธ  ที่  27 เดือน  พฤศจิกายน  พ.ศ. 2556
เวลาเข้าสอน  08.30 น.  เวลาเข้าเรียน  08.20 น.   เวลาเลิกเรียน  12.20 น.


- นำเสนองานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยตามกรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิศาสตร์

การวิเคราะห์และความน่าจะเป็นของเด็ก

- มีกล่องอยู่ 1 ใบ ใส่ตุ๊กตาหมี 5 ตัว ในกล่อง

- ตุ๊กตา 5 ตัว สีแตกต่างกันออกไป สีแดง สีนำเงิน

- ครูจะให้เด็กคิดว่าจะหยิบตุ๊กตาได้สีอะไร


ตัวอย่างความน่าจะเป็นของเด็ก







- ตัวอย่างนี้ก็เป็นเกี่ยวกับเสื้อผ้า จะมีกางเกง 3 สี เสื้อ 3 สี ครูจะให้เด็กได้เสนอความคิดเห็นของตัวเด็กเองว่าถ้าครู

ใส่เสื้อผ้า 3 สี เหล่านี้ลงไปในกล่องกระดาษเด็ก ๆคิดว่าครูจะหยิบเสื้อผ้าได้สีอะไรบ้าง และกี่ชุด 

- จะหยิบชุดได้ทั้งหมด 6 วิธี

ชุดที่ 1 

- เสื้อสีดำ + กางเกงน้ำเงิน

- เสื้อสีดำ + กางเกงสีแดง

- เสื้อสีดำ + กางเกงดำ

ชุดที่ 2

- เสื้อสีส้ม + กางเกงน้ำเงิน

- เสื้อสีส้ม + กางเกงสีแดง

- เสื้อสีส้ม + กางเกงสีแดง

จำนวนและการดำเนินการ




- ครูจะสามารถสอนเด็กได้หลายวิธี เช่น สอนเด็กโดยใช้เพลงเข้ามาประกอบ จากภาพที่นำมาเป็นตัวอย่างให้ดูจะ

เห็นว่าในกระดานตัวอย่างนั้นจะมีตัวเลข และเครื่องหมาย บวก ลบ คูณ หาร เพื่อทีจะให้เด็กได้ เปลี่ยนสัญลักษณ์

ในการ บวก ลบ คูณ หาร เลขตามใจชอบของเด็ก เพื่อที่จะให้เด็กได้เรียนรู้จำนวนตัวเลขที่ลดลง หรือมากขึ้น

การวัด




- จากรูปภาพนี้ถ้าถามเด็กว่าเชือกสีไหนยาวกว่ากัน เด็กจะตอบได้เลยว่าเชือกสีเขียวเพราะเด็กจะตัดสินใจในสิ่งที่

เด็กเห็น ทั้ง ๆ ที่เชือก 2 เส้น มีความยาวเท่ากัน

- การวัดของเด็กจะไม่มีหน่วย ถ้าเด็กจะวัดความสูงเด็กก็จะหาสิ่งของรอบตัวมาวางต่อกัน ดังภาพนี้



- การวัดของเด็กจะไม่มีหน่วย ถ้าเด็กจะวัดความสูงเด็กก็จะหาสิ่งของรอบตัวมาวางต่อกัน ดังภาพนี้ เด็กจะนำเอา

ตุ๊กตามาวางต่อกันเท่ากับความสูง

รูปทรงเรขาคณิต



- รูปทรงและเรขาคณิตจะทำให้เด็กรู้จักและจำแนกรูปทรงต่าง ๆ ได้ดี เด็กจะสามารถนำรูปทรงเรขาคณิตนี้ไปใช้ได้

หลายอย่าง เช่น ใช่ในการวาดภาพ ใช้ในการนับมุมของรูปทรงต่าง ๆ


พีชคณิต


- สำหรับพีชคณิตการจัดประสบการณ์ของครู ควรช่วยเด็กในการอธิบายลักษณะของสิ่งต่างๆ

- ใช้ของเล่นแสดงแบบรูป เช่น บล็อกทรงสี่เหลี่ยม ทรงกลมวางสลับกัน

- ใช้สื่อที่จัดกระทำได้แสดงรูปแบบ เช่น กระดาน กระดานร้อยเชือก

- จัดโอกาสให้เด็กสร้างแบบรูปของตนเองโดยการเรียนแบบ และการขยายแบบ วิเคราะห์ และอธิบายรูป


สำหรับทั้ง 5 หัวข้อนี้ เด็กจะได้คณิตศาสตร์ครบถ้วน 





วันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนครั้งที่ 3


บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤน  แจ่มถิ่น

วัน พุธ  ที่  20 เดือน  พฤศจิกายน  พ.ศ. 2556
เวลาเข้าสอน  08.30 น.  เวลาเข้าเรียน  08.20 น.   เวลาเลิกเรียน  12.20 น.




จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

- เพื่อให้เด็กมีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับตณิศาสตร์ เช่น การรู้จักคำศัพท์

- เพื่อพัฒนามโนภาพเกี่ยวกับคณิศาสตร์ เช่น การบวก ลบ

- เพื่อให้เด็กรู้จักและใช่ขบวนการหาคำตอบ

- เพื่อให้เด็กฝึกฝนคณิตศาสตร์พื้นฐาน

- เพื่อให้เด็กมีความรู้ ความเข้าใจ

- เพื่อส่งเสริมให้เด็กค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง

ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยมี 7 ข้อ ดังนี้

1. การสังเกต (Observation) 

- การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกันในการเรียนรู้

- โดยเข้าไปมีปฎิสัมพันธ์โดยตรงกับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์อย่างมีจุดหมาย

2. การจำแนก (Classifying)

- การแบ่งประเภทสิ่งของโดยหาเกณฑ์หรือสร้างเกณฑ์ในการแบ่งขึ้น

- เกณฑ์ในการจำแนกคือ ความเหมือน ความแตกต่าง และความสัมพันธ์

3. การเปรียบเทียบ (Comparing)

- เด็กต้องอาศัยความสัมพันธ์ของวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์ตั้งแต่สองสิ่งขึ้นไป

- เด็กจะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะของสิ่งนั้นๆ และรู้จักคำศัพท์คณิศาสตร์ที่ต้องใช้

4. การจัดลำดับ (Ordering)

- เป็นทักษะการเปรียบเทียบขั้นสูง

- การจัดลำดับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์

5. การวัด (Measurement)

- มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการอนุรักษ์

- การวัดสำหรับเด็กปฐมวัย ได้แก่ อุณหภูมิ เวลา ระยะทาง ความยาว น้ำหนัก ปริมาณ

6. การนับ (Conting)

- เด็กชอบการนับแบบท่องจำโดยไม่เข้าใจความหมาย

- การนับแบบท่องจำนี้จะมีความหมายต่อเมื่อเชื่อมโยงกับจุดประสงค์บางอย่าง

7. รูปทรงและขนาด (Sharp and Size)

- เด็กส่วนใหญ่จะมีความรู้เกี่ยวกับรูปทรงและขนาดก่อนจะเข้าโรงเรียน


คำศัพท์เกี่ยวกับคณิตศาสตร์

- ตัวเลข - น้อย มาก น้อยกว่า มากกว่า ไม่มี ทั้งหมด

- ขนาด - ใหญ่ คล้าย สองเท่า ใหญ่ที่สุด สูง เตี้ย

- รูปร่าง - สามเหลี่ยม วงกลม สี่เหลี่ยม ยาว โค้ง สั้นกว่า แถว

- ที่ตั้ง - บน ต่ำ ขวา สูงที่สุด ยอด ก่อน ระยะทาง ระหว่าง 

- ค่าของเงิน - สลึง ห้าสิบสตางค์ หนึ่งบาท ห้าบาท สิบบาท 

- ความเร็ว - เร็ว ช้า เดิน วิ่ง คลาน

- อุณหภูมิ - เย็น ร้อน อุ่น เดือด

หลังจากที่อาจารย์อธิบายเนื้อหาเสร็จแล้วอาจารย์ ได้มีตัวอย่างในการเอาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับ

เด็กปฐมวัยทั้ง7 ข้อ มาใช้ ในรูปข้างล่างนี้ เพื่อให้เด็กได้สังเกต และแสดงความคิดเห็นของตัวเด็กเอง







หลังจากการเรียนการสอนเนื้อหาได้ทำกิจกรรมวาดรูปสิ่งที่เราเดินผ่านก่อนถึงมหาวิทยาลัย 3 รูป



ทั้ง 3 รูปนี้ จะสามารถเรียนรู้คณิตศาสตร์ได้ทั้งหมด เช่น การนับ การสังเกต รูปทรงและขนาด การจัดลำดับ 

ทำให้เด็กคุ้นเคยกับตัวเลขมากขึ้น





บันทึกการเรียนครั้งที่ 2


บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤน  แจ่มถิ่น

วัน พุธ  ที่  13  เดือน  พฤศจิกายน  พ.ศ. 2556
เวลาเข้าสอน  08.30 น.  เวลาเข้าเรียน  08.15 น.   เวลาเลิกเรียน  12.20 น.



ความหมายของคณิตศาสตร์

- คือระบบการคิดของมนุษย์ เพื่อศึกษาและอธิบายความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ ในเชิงปริมาณโดยใช้ภาพ 

สัญลักษณ์ การพูด การเขียน และเป็นการเรียนรู้เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับจำนวน ตัวเลข และการคิดคำนวณ

ความสำคัญของคณิตศาสตร์

- เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน

- ส่งเสริมกระบวนการคิดแก้ไขปัญหาโดยเฉพาะอาศัยหลักการทางคณิตศาสตร์

- เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสำรวจข้อมูล วางแผน และประเมินผล

- เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ของวิชาต่างๆ โดยเฉพาะวิชาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี

เด็กสามารถพัฒนาการอนุรักษ์ได้โดย

- การพับ

- การจับคู่ 

- การเปรียบเทียบรูปทรง

- การเรียงลำดับ

- การจัดกลุ่ม

หลักการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

- เปิดโอกาสให้เด็กได้พูดคุย อธิบายและสำรวจความสำพันธ์ต่างๆ

- ผสมผสานคณิตศาสตร์กับการเล่น และกิจกรรมที่มีการลงมือปฎิบัติ

- ให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสต่างๆ 

- ใช้คำถามปลายเปิด

- เชื่อมโยงการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในชิวิตประจำวัน


ทฤษฎีพัฒนาการด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัยตามแนวคิดของ Piaget

1. ขั้นพัฒนาการด้านประสาทสัมผัส (Sensorimotor Stage) แรกเกิด - 2 ปี

- เด็กเรียนรู้จากประสาทสัมผัสต่าง ๆ

- สามารถจดจำสิ่งต่าง ๆ บอกคุณลักษณะของวัตถุด้วย

2. ขั้นเตรียมการความคิดที่มีเหตุผล (Peoperational Starge) 2-7 ปี

- ใช้ภาษาพูดแสดงความรู้ ความคิด

- เริ่มรู้จักคำที่บอกขนาด น้ำหนัก รูปทรงและความยาว

- เล่นบทบาทสมมติซึ่งเป็นพื้นฐานของพัฒนาความเข้าใจในสิ่งที่เป็นนามธรรมมากขึ้น เช่น จำนวน ตัวเลข ตัว

อักษร คำที่มีความหมาย

- เด็กในวัยนี้จะให้ความสำคัญกับสิ่งที่สังเกตและรับรู้ได้ชัดเจนที่สุด

- ไม่สามารถคงความคิดตามสภาพเดิมไว้ได้ เมื่อสภาพทางกายภาพเปลี่ยนแปลง ทำให้เด็กไม่สามารถสั่งสม

ความคิดไว้ได้

หลังจากที่อาจารย์ได้บรรยายเนื้อหาแล้ว อาจารย์ได้ให้ทำกิจกรรมวาดภาพสัตว์อะไรก็ได้ที่มีขา





นี่คือภาพตะขาบ

ภาพนี่ก็จะทำให้เด็กได้ใช้คณิตศาสตร์ เช่น

- การนับขาของตะขาบ

- การแยกสี

- บอกลักษณะของตัวตะขาบ


บันทึกการเรียนครั้งที่ 1


บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤน  แจ่มถิ่น

วัน พุธ  ที่  6  เดือน  พฤศจิกายน  พ.ศ. 2556
เวลาเข้าสอน  08.30 น.  เวลาเข้าเรียน  08.15 น.   เวลาเลิกเรียน  12.20 น.




 - ช่วงสัปดาห์นี้กำลังอยู่ในช่วงที่กำลังเข้าสู่การเรียน การสอน อาจารย์ได้มาอธิบายเกี่ยวกับการเรียนในเทอมนี้ว่าเรา

จะเรียนอะไรกันบ้างที่เกี่ยวข้องกับคณิศาสตร์
  
- สัปดาห์นี้อาจารย์ก็ได้มีการให้ทำ My  Map ว่าตัวของเราเองคิดว่าจะได้อะไรกับวิชาการจัดประสบการณ์ทาง

คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย






สิ่งที่คิดว่าจะได้รับจากรายวิชานี้

- สอนเกี่ยวกับการนับเลข

- การนำนิทานเข้ามาสอดแทรกทางคณิตศาสตร์

- ประโยชน์ของการใช่คณิศาสตร์ในชีวิตประจำวัน

- ทฤษฎีต่างๆ ทางด้านคณิศาสตร์

- เขียนแผนการเรียนการสอนได้

- ออกแบบกิจกรรมต่าง ๆ ได้หลากหลาย

- วิธีทำให้เด็กไม่กลัววิชาคณิตศาสตร์